วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

โครงงานISเรื่องกล้วยๆสไตล์เด็กหอ


วีดีโอ​จาก:https://youtu.be/IecMajnh9so


โครงงานIS เรื่อง กล้วยสไตล์เด็กหอ



   สมาชิกกลุ่ม


น.ส. ดวงกมล น้อยยืนยง ม.4/8 เลขที่9

น.ส. ปนัดดา มั่งน้อย ม.4/8 เลขที่10

น.ส. ฟารีีดา โชคปมิตต์กุล ม.4/8 เลขที่11

น.ส. พรหมภัสสร วิมูลชาติ ม.4/8 เลขที่31

น.ส. รัตน์ศิรินทร์ ภิรมย์ฤทธิ์ ม.4/8 เลขที่32

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พิธีชงชาประเทศญี่ปุ่น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

ประวัติความเป็นมาของพิธีชงชา

ประวัติความเป็นมาของพิธีชงชา
ต้นกำเนิดของพิธีเริ่มต้นเมื่อศตวรรษที่ 9 ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในชื่อ "Nihon Koki” เขียนไว้ว่า เมื่อประมาณ700ปีก่อน ได้มีพระสงฆ์นามว่า เอชู เดินทางกลับมาจากประเทศจีน และได้ถวายชาเขียวแก่องค์จักรพรรดิ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นแบบแผนพิธีการชงชา พิธีชงชาที่เกิดขึ้นในประเทศจีนนั้น เมื่อเข้ามาสู่ญี่ปุ่น ก็ได้พัฒนาให้เป็นในแบบเฉพาะของตนเองซึ่งนำไปใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่16 ลัทธิเซนมีอิทธิพลต่อพิธีชงชาอย่างมาก พิธีชงชาที่ว่ากันว่ามีหลักคำสอนของลัทธิเซนอยุ่ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้ชาเขียวผงในพิธีชงชาแทนชาเขียวธรรมดาทั่วไป

ปรัชญาของชา






ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ペンダントライト 天井照明 和風LEDペンダントライト メタルサーキットシリーズ 調光 アイリスオーヤマ

เมื่อมองเข้าไปถึงในแก่นแท้ของพิธีชงชานั้น จะเข้าใจถึงปรัชญาการนึกคิด ซะโด คือการทำจิตใจ จิตวิญญาณให้มีความสงบ โดยแนวคิดแห่งซาโดนั้น ใช้แนวคิด ความงามในความเรียบง่ายและความสงบ อุปกรณ์ชงชาอย่างกาต้มน้ำ ถ้วยชา เป็นสิ่งเรียบง่าย นอกจากนี้เพื่อที่จะค้นหาความงามในความไม่สมบูรณ์ อุปกรณ์ที่มีความขรุขระ
หัวใจพิธีชงชา คือ ความสุนทรีย์ในความเรียบง่าย การรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติด้วยจิตใจที่นิ่งสงบและบริสุทธิ์ซึ่งสิ่งนี้คือปรัชญาของซาโด

อุปกรณ์ในพิธีชงชา

อุปกรณ์ในพิธีชงชา
・อุปกรณ์ที่สำคัญในพิธีชงชา ตามด้างล่างนี้ ผ้า2ชั้นที่ไว้คลุมและเช่นทำความสะอาดอุปกรณ์
・กระดาษ “ไคชิ” กระดาษญี่ปุ่นไว้รองขนมหวาน ใช้แทนจาน
 เมื่อดื่มชาหมดแล้ว ให้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ เช็ดขอบถ้วยชา แล้วจึงใช้นิ้วนั้นเช็ดที่กระดาษไคชิ เพื่อทำความสะอาด
 ในกรณีที่ชาเข้มข้น ใช้กระดาษไคชิปาดตรงขอบถ้วยชา
 อีกทั้งหากทานขนมหวานไม่หมด สามารถใช้กระดาษไคชิห่อขนมที่ทานเหลือได้
・นัทสึเมะ โถใส่ผงชามัตฉะ 
・ชะอิเระ โถใส่ชา ทำมาจากเซรามิก
・ชะฉะคุ ช้อนตักชา โดยทั่วไปทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก
・ชะเซน อุปกรณ์ที่คนชาให้เข้ากัน โดยการเติมน้ำร้อนลงในถ้วยชา แล้วใช้ชะเซนคนลงตรงกลางถ้วย คนให้ผงชาละลายจนทั่ว
・ชะคิง ผ้าที่ทำจากป่าน ไว้เช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
・ชะวัง ถ้วยชาที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ แตกต่างขึ้นอยู่กับฤดูและพิธี
・ฮิชะคุ อุปกรณ์ไว้ตักน้ำชงชา ในฤดูร้อนจะมีขนาดเล็ก ในฤดูหนาวจะมีขนาดใหญ่ ขนาดแตกต่างกันไปตามฤดู
・ชะคะมะ กาน้ำสำหรับต้มน้ำใส่ชา
・ภาพแขวนผนัง จะเป็นภาพวาดหรือตัวอักษรก็ได้ จะแขวนไว้ที่ “โทโคโนมะ”(เป็นส่วนที่ยกขึ้นสูงเล็กน้อย ไว้ประดับภาพแขวน หรือ วางแจกันดอกไม้ ) ในห้องชงชา
・แจกันดอกไม้ ไว้สำหรับตกแต่งดอกไม้ จะวางประดับไว้ที่ “โทโคโนมะ”เช่นกัน
 แจกันดอกไม้ ไว้สำหรับตกแต่งดอกไม้ จะวางประดับไว้ที่ “โทโคโนมะ”เช่นกัน

ขั้นตอน

ขั้นตอน
แนวคิดพิธีชงชานั้นได้จัดขั้นตอนการชงตามแบบฉบับของตัวเอง โดยจะใช้คำว่า “เทะมะเอะ” ในพิธีชงชาต่อไปนี้จะแนะนำขั้นตอนทั่วไปโดยจะจัดขึ้นตามโดยไม่จำกัดช่วงเวลา 
1.ใช้ชะฉะคุ ตักผงชาจากโถใส่ชาลงในถ้วยชา
2.ใช้กระบวยตักน้ำ ตักน้ำร้อนใส่ถ้วยชา
3.ใช้ชะเซนคนชาให้เข้ากัน
4.สำหรับแขกผู้ดื่มชา จะจับถ้วยชาด้วยมือขวา โดยแบมือซ้ายเพื่อวางถ้วยชา
5.โดยการหมุนถ้วยชาไปตามเข็มนาฬิกา แล้วค่อยดื่ม
6.หลังจากดื่มชาแล้ว เช็ดขอบถ้วยตรงบริเวณที่ดืม แล้วหมุนถ้วยขาทวนเข็มนาฬิกา 3ครั้ง แล้วจึงวางถ้วยชาเพื่อส่งคืน

เพื่อที่พิธีชงชาที่สมบูรณ์แบบ

นอกจากขั้นตอนการชงชาแล้ว ยังมีสิ่งสำคัญในพิธีชงชาออื่นๆด้วย
・ห้องชงชา ในพิธีชงชานั้น จะจัดในห้องแบบญี่ปุ่นซึ่งกำหนดที่นั่งไว้สำหรับแขกและผู้ชงชา
・เครื่องแต่งกาย เพื่อเป็นเกียรติแก่พิธี สวมเครื่องแต่งกายที่สุภาพ โดยผู้ทำพิธีชงชาจะสวมชุดกิโมโน ส่วนแขกจะสวมก็ได้ หรือจะเป็นสากลก็ได้เช่นกัน
・รูปแขวน เป็นภาพวาดแบบญี่ปุ่น หรือตัวอักษรก็ได้ โดยจะแขวนไว้ที่ โทโคโนมะ
・แจกันดอกไม้ ไว้สำหรับตกแต่งดอกไม้ จะวางประดับไว้ที่ “โทโคโนมะ”เช่นกัน
 วัสดุจะใช้ไม้ไผ่ เครื่องปั้นดินเผา แตกต่างกันไปตามแต่ละฤดู
・อาหาร จะเป็นของว่างเบาๆ อย่างของทานในช่วงฤดูกาลนั้นๆ โดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกของฤดูกาล

เรียนรู้พิธีชงชา

การเรียนชงชานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สิ่งสำคัญคือการจำขั้นตอนการชงชา นอกจากนั้นคือการเข้าถึงปรัชญาความสงบและเรียบง่ายของวิถีแห่งชา โดยทั่วไปผู้เรียนจะได้เรียนและจบหลักสูตร เพื่อสามารถนำไปสอนต่อได้
การเรียนพิธีชงชา ต้องเรียนที่โรงเรียนสอนโดยเฉพาะ หรือสมาคมทีมีสอน นอกจากนี้โรงเรียนที่ญี่ปุ่น ยังมีชมรมซาโดด้วยเช่นกัน 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงเรียนสอนชงชา

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาโตเกียว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สนธิสัญญาโตเกียว

สนธิสัญญาโตเกียว  ว่าด้วยสภาวะเรือนกระจก กำเนิด 2540


สนธิสัญญาโตเกียว 
ต้นเหตุเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่2 
เกิดจากในยุโรป ณ ขณะนั้น เริ่มมีกลิ่นอายของสงคราม โดยฝรั่งเศส เห็นความเคลื่อนไหว ของทางฝั่งเยอรมันนี ศัตรูตัวเอ้ ของตน ที่กำลังซ่องสุมกำลังพล เพื่อแก้แค้นจากการที่ถูกฝรั่งเศส และชาติพันธมิตรของฝรั่งเศสกดขี่ข่มเหงด้านต่างๆ ทั้งด้านการทหาร ทรัพยากร เศรษกิจ และค่าปรับจากปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล จากการฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่1 ทำให้เกิดภาวะเงินที่เฟื้อสูงมาก เงินค่าเงินมาร์คแทบจะไร้ค่า ผู้คนเยอรมันพากันอดยาก ยากแค้น เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งมีนายอด๊าฟ อิตเลอร์ ชาวออสเตรีย สัญชาติเยอรมัน ผู้นำแห่งพรรคนาซี เข้ามาเป็นความหวังใหม่ขึ้นมา เขาผู้นี้นำพรรคนาซีก้าวขึ้นเป็นรัฐบาล สร้างโครงการขนาดใหญ่ ทั้งถนน หนทางทางรถไฟ สถานที่ราชการ สนามกีฬาเพื่อจัดกีฬาโอลิมปิก รถยนต์ของประชาชน นามโฟร์ก สวาเกนซ์ โดยยึดแนวคิดสังคมนิยม และการกำหนดนโยบายให้รัฐตัวจักรสำคัญเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างชาติรัฐขึ้นมาใหม่ และในขณะเดียวกันก็ได้ทำการแอบซ่องสุมฝึกฝนคนของตน ให้เข้มแข็ง มีระเบียบวินัย เพื่อใช้ทางการทหารแอบแฝง แม้เมื่อเกิดสงครามก็แปรเปลี่ยนโรงงานอุตสหกรรมหนักต่างๆให้เป็นโรงงานผลิตอาวุธได้ทันที และสร้างเรื่องความรักชาติ ภูมิใจในความฉลาดของชาวอารยันเหนือชนชาติอื่นๆ ผ่านการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์

เมื่อฝรั่งเศสได้เห็นกลิ่นอายของสงคราม ใกล้เข้ามาหาตน และกลัวตนจะเปิดศึกหลายด้าน ถ้ากรณีเกิดสงครามขึ้นกับเยอรมันนีเข้าจริงๆ ก็จึงส่งคณะฑูตเข้ามาขอเจรจากับรัฐบาลของสยามในสมัยนั้น ขอทำสนธิสัญญาสันธวไมตรีต่อกัน ว่าชาติรัฐทั้งสองจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันและจะไม่รุกรานต่อกัน ซึ่งรัฐบาลสมัยของจอมพลปอ พิบูรญ์สงครามก็ได้ทำข้อตกลง แต่ก็อดแปลกใจมิได้ ว่าอยู่ๆทำไมฝรั่งเศสจึงขอมาทำข้อตกลงฉบับนี้กับตน

พอประเทศเยอรมันเริ่มบุกประเทศโปรแลนด์ เป็นชาติแรก เหตุผลอันหนึงคืิอโปรแลนด์ มีขนาดกองทัพที่เล็กกว่ามาก แต่มีทรัพยากร จำพวกถ่านหิน และเชื้อเพลิงอีกทั้งเสบียง จำนวนมาก เพื่อเอาไว้ใช้หล่อเลี้ยงกองทัพของตน ในเวลาเริ่มต้นสงครามและขยายพื้นที่การสู้รบ อีกทั้งได้ใช้แรงงานทาสจากเชลย ทั้งจากชาวสลาฟ ยิวและพวกยิปซี ในโรงงานผลิตอาวุธของตนอีกจำนวนมาก

เมื่อทางฝั่งสยามในสมัยจอมพลปอเห็นเป็นเหตุอันดี และเป็นการแก้แค้น จึงฉีกสัญญาฉบับนั้นทิ้ง โดยที่อีกทั้งฝ่ายสยามยังได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ จากการสั่งซื้อจากญี่ปุ่น และความช่วยเหลือฝึกอบรมด้านการรบจากกองทัพญี่ปุ่น ทั้งฝรั่งเศสก็มัวแต่ภวักภวงด้านการเตรียมการรบกับกองทัพนาซีของเยอรมัน และเรียกกำลังหนุนเสริมจากกองทหารของตนที่ประจำจากที่ต่างๆในอาณานิคม เพื่อมาเสริมทัพในประเทศแม่ ทั้งจากในแอฟริกาเหนือ เช่น ตูนิเซีย ตะวันออกกลาง เช่นเลบานอน และ ในเอเซียอาคเนย์ เช่นที่อินโดจีนของฝรั่งเศส คือ ญวณ กัมพูเจียร์ และ ลาว เรียกกำลังหลักกับไปรับมือเป็นจำนวนมาก ทิ้งกำลังที่เหลือไว้เพียงแค่บางส่วน ดังนั้นรัฐบาลสยามสมัยจอมพลปอ เป็นนายก จึงถือโอกาสอันดีนี้ ทำการประลองกำลังรบกับ จักรวรรดิ์นิยมฝรั่งเศสในอินโดจีน โดยทางฝ่ายสยาม ได้จัดส่งกองกำลังทั้งทางภาคพื้นดิน เช่นหน่วยปืนใหญ่ กำลังทหารราบ และกำลังทางอากาศ เช่นฝูงบินรบ เข้าโจมตี กองกำลังของฝรั่งเศส ที่ประจำอยู่ทั้งในแขวงจำปาสัก เช่นเมืองศรีโสภณ เมืองปากเซ ,แขวงไชยบุรี ในเขตลาว เปลี่ยนเป็นจังหวัดล้านช้าง ในเวลาต่อมา รวมทั้งเข้าตี จังหวัดเสียมเรียบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ เสียมรัฐ และจังหวัดพระตะบอง ในกัมพูเจียร์(จ.พิบูญสงคราม โดยคณะรมต.เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านผู้นำ) ถือเป็นชัยชนะของทางฝ่ายไทยอย่างงดงามเหนือจักวรรดิ์นิยมฝรั่งเศส

ในส่วนฝรั่งเศสก็ได้ส่งกองเรือรบ ที่ตนถนัด ออกจากท่าเรือที่เมืองไซ่ง่อน(โฮจิมินต์ในปัจจุบัน) มารบในยุทธนาวีที่เกาะช้าง และจมเรือรบของฝ่ายสยาม ก่อนล่าถอยหนีกลับ เพราะเกรงกลัวเรือดำนำ้ที่ต่อมาจากญี่ปุ่น 3ลำ (ยี่ห้อมิตซูบิชิ )และฝูงบินรบที่อยู่บริเวณนั้น

ในส่วนทางฝ่ายสยามสามารถจับเชลยศีึกทหารชาวฝรั่งเศสได้เป็นจำนวนมาก และนำเชลยศึกเหล่านั่นขึ้นโบกี้รถไฟเข้ามาที่พระนคร เหตุการณ์ครั้งนี้ เรียกว่าสงครามสยาม-ฝรั่งเศส หรือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 3

จนสุดท้ายรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งในขณะนั้น ได้เป็นชาติมหาอำนาจแล้ว กำลังจะโชว์ฟลาวเวอร์ของจักวรรดิ์ใหม่ของตน ขอเข้ามาเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่าย โดยนำผู้แทนฝ่ายไทย และฝ่ายฝรั่งเศส ต่างเกรงอกเกรงใจ และมาเจรจาทำข้อตกลงสัญญากันบนเรือรบหลวงโตเกียว ที่น่านนำ้เขตเวียดนาม ใกล้เมืองไซ้ง่อน จึงเรียกกันว่าสนธิสัญญาโตเกียว อันมีเนื้อหาพอสรุปสั้นๆว่าฝรั่งเศสยอมรับเขตแดนใหม่ที่ฝ่ายสยามเข้ายึดครอง โดยดุษฏี แต่ทางฝ่ายสยามต้องปล่อยตัวเชลยศึก โดยปราศจากข้อแม้ และจะต้องไม่คิดขยายดินแดนเพิ่มเข้ามาในอาณานิคมของฝรั่งเศสเพิ่มไปจากนี้อีก และเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง อีกทั้งทั้งสองฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกันเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นข้อตกลงที่ยุติธรรมแล้ว

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ที่สอง สิ้นสุดลง เมื่อญี่ปุ่น แพ้สงครามต่อสหรัฐอเมริกา โดยโดนทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา และนายาซากิ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่แถบสองของญี่ปุ่น รองจากกรุงโตเกียว เสียชีวิตผู้คนเกือบสองแสน โดยเจ้าอ้วน Fatman และเจ้าเด็กน้อยนามLittle boy จนญี่ปุ่นยอมประกาศแพ้สงคราม ณ เรือรบหลวงมิซซูรี่ ใกล้กับอ่าวโตเกียว โดยสมเด็จพระจักพรรดิ์แห่งญี่ปุ่น ต่อตัวแทนฝ่ายสหรัฐที่นำโดยนายพลแม็กอาเธอร์

หลังจากนั้นรัฐบาลฝ่ายไทยจึงประกาศยอมแพ้สงคราม(ญี่ปุ่นนับถือเราตรงนี้ ที่ยอมแพ้กับตนเป็นคนสุดท้าย ไม่เหมือนกรณีรัสเซีย ที่ถีบหัวเรือส่ง แล้วไปยึดหมู่เกาะแซคคารินของตน) ต่อฝ่ายพันธมิตร

โดยอังกฤษยังแค้นไทย ที่เข้าไปยึดรัฐฉานในเขตพม่าของตน จนถึงเมืองเชียงตุง แล้วตั้งเป็นจังหวัดสหรัฐไทยใหม่ขึ้น อังกฤษจึงคิดที่จะเอาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นรัฐอารักขาของตน เพื่อที่อาจจะไปรวมกับ สมาพันธ์รัฐมาลายาของตนต่อไป แต่ถูกสหรัฐที่เป็นมหาอำนาจขอร้องคัดค้านเอาไว้ เพราะมองว่าฝ่ายไทย(จอมพลปอ เปลี่ยนชื่ิอประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย)ถูกญี่ปุ่นบีบบังคับ เพราะในขณะนั้นรัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากสหรัฐเอาไว้แล้ว กรณีที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาบุกรุก แต่สหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้เข้ามาช่วย เพียงแต่บอกให้ทางฝ่ายไทยพึ่งตนเองไปพรางก่อน อีกทั้งยังมีขบวนการเสรีไทย เข้ามาช่วยปลดแอกและต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่นในเวลานั้น รวมทั้งเป็นการปรามอังกฤษไปในตัว จนอังกฤษเรียกค่าปฎิกรรมสงครามเป็นข้าวสารจำนวนหนึ่งล้านตันแทน และทยอยส่งมอบเป็นงวดๆ เพื่อที่จะให้ไทยไม่เป็นประเทศผู้แพ้สงคราม จนต้องถูกเรียกค่าปรับมหาศาล

ในส่วนของฝรั่งเศสนั้น ได้ส่งผู้แทนมาทำการเจรจากับทางฝ่ายสยาม โดยตั้งขัอเรียกร้องถึงสองข้อ(การเจรจาต่อรองโดยหลักฝ่ายที่ได้เปรียบต้องตั้งข้อเรียกร้องไว้สูงก่อนเสมอ เพื่อให้อีกฝ่ายต่อได้น้อยที่สุด)กล่าวคือ ข้อแรก ขอพระแก้วมรกตพระคู่บ้านคู่เมืองอันเชิญกลับกรุงเวียงจันทร์ให้กับลาว และข้อสองขอดินแดนที่เสียให้กับทางฝ่ายไทย สมัยสงครามสยาม-ฝรั่งเศสกับคืนทั้งหมด ซึ้งผู้แทนฝ่ายไทยให้ได้ข้อที่สองเท่านั้น จึงลุกเดินออกจากที่ประชุม สุดท้ายเมื่อเจรจากันรอบหลัง ฝรั่งเศสจึงยอมตามข้อตกลงของทางฝั่งไทย



อ้างอิงจาก:https://www.facebook.com/warofhistory/posts/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B-%E0%B8%93-%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88/496786540386477/

Cop24

Cop24 ย่อมาจาก 

 Conference of the Parties of United Nations Framework Climate Change Convention
(การประชุมขององค์กรรอบการทำงานของสหประชาชาติ) จัดที่ โปร์แลนด์ ประชุมวันที่ 3-14 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 



ข้อตกลง

ข้อตกลง:agreement   

  1. 1.
    ประเด็นที่ความเห็นตรงกัน.
    2.
    สัญญาที่ทำไว้ต่อกัน.

สนธิสัญญา

สนธิสัญญา 

สนธิสัญญา (อังกฤษ: treaty) เป็นข้อตกลงเฉพาะหน้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเข้าทำสัญญาโดยตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อต่าง ๆ เช่น กติกา (covenant), กติกาสัญญา (pact), กรรมสาร (act), ข้อตกลง (accord), ความตกลง (agreement), แถลงการณ์ (communiqué), ปฏิญญา (declaration), พิธีสาร (protocol) และ อนุสัญญา (convention) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร รูปแบบความตกลงทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นสนธิสัญญาเท่าเทียมกันและมีหลักเกณฑ์เดียวกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

สนธิสัญญาสามารถเปรียบได้หลวม ๆ กับสัญญา ทั้งสองต่างเป็นวิธีการที่ภาคีที่สมัครใจยอมรับพันธกรณีต่อกัน และภาคีซึ่งไม่สามารถยึดพันธกรณีสามารถรับผิดได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ 

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาริโอเดอจาเนโร

สนธิสัญญาริโอเดอจาเนโร ว่าด้วยเรื่อง สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สนธิสัญญารีโอเดอจาเนโร ว่าด้วยเรื่อง สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา


ผู้ที่อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมนั้นคงคุ้นเคยกับคำว่า “ริโอ” อยู่ไม่มากก็น้อย “ริโอ” ซึ่งไม่ใช่เป็นชื่อของนกแก้วมาคอว์สีฟ้าสุดเนิร์ดในภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ริโอ เดอะมูฟวี่ เจ้านกฟ้าจอมมึน(Rio)” นั้นคือ ริโอ เดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) เมืองใหญ่ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศบราซิล ซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากการเป็นสถานที่จัดการ ประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาของสหประชาติ (United Nations Conference and Development) หรือ “เอิร์ธซัมมิท” ในปี 2535


เอิร์ธซัมมิทที่ริโอปี 2535 ถือเป็นต้นธารของกระแสความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมที่แผ่ขยายไป ทั้งโลก หรือ “โลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อม” และเป็นที่มาของความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมถึงกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(United Nations Framework on Climate Change Convention) และคำยอดฮิตติดอันดับซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันและใช้ต่อกันไปในอนาคต คือคำว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)”

แท้ที่จริงแล้วกระแสสิ่งแวดล้อมมีมาก่อนหน้าเอิร์ธซัมมิทที่ริโออย่างน้อยสองทศวรรษ โดยเฉพาะในปี 2515 ซึ่งสหประชาติจัดการประชุมระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์(The United Nations Conference on the Human Environment) ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความตื่นตัวทาง การเมืองและสาธารณะของปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกครั้งแรก และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมยุโรปในขณะนั้น

ในบรรดาการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมทั้งหลายในประวัติศาสตร์ “ริโอ” เป็นคำเรียกที่แพร่หลายที่สุด จากเอิร์ธซัมมิทที่ริโอปี 2535 ก็ตามมาด้วยการประชุมสุดยอด ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development-WSSD) ในปี 2545 ที่เมืองโยฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เนื่องจากเป็นกระบวนการ ที่ต่อเนื่องมาจาก “เอิร์ธซัมมิท” ที่ “ริโอ” จึงเรียกการประชุมที่เมืองโยฮันเนสเบอร์ก ว่า “ริโอ+10”

ในเดือนมิถุนายน 2555 นี้ เส้นทางว่าด้วย “การพัฒนายั่งยืน” ทุกสายจะมุ่งสู่เมืองริโอ เดอ จาเนโร อีกครั้ง จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "ริโอ+20  "โดยวาระหลักนั้นมุ่งเน้นไปที่เรื่อง “เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy)”

แต่ทว่า ยี่สิบปีหลังจากเอิร์ทซัมมิทริโอ เรายังคงเผชิญกับสถานการณ์สองด้านที่ขัดแย้งกัน เรารู้ว่ามีทางออกที่คุ้มค่า เรารู้ว่าการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดมีเพิ่มมากขึ้น เราสามารถยุติการทำลายป่าลงได้ และโลกมีอาหารเพียงพอเลี้ยงดูทุกคน หากรัฐบาลมีเจตจำนงที่แน่วแน่ แต่ในขณะเดียวกันการพัฒนาทั้งในซีกโลกเหนือและใต้ ยังคงไม่ยั่งยืนอย่างยิ่ง

ถึงแม้ว่าเรามี "ปฎิญญาริโอ" และความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนนับร้อยฉบับ แต่การขูดรีดทรัพยากรยังเพิ่มในอัตราเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นวิกฤตสุดขั้ว น้ำสะอาดหายากมากขึ้น มหาสมุทรเผชิญกับภาวะฉุกเฉิน การทำลายป่าไม้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต มลพิษแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น และเรากำลังเดิมพันระบบอาหารของโลกโดยปล่อยให้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เข้าสู่ระบบนิเวศธรรมชาติ

รัฐบาลประเทศต่างๆ พร่ำพูดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่กลับส่งเสริมให้เกิดการทำลายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยทำการอุดหนุนงบประมาณให้กับกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาที่ทำลายล้างไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงฟอสซิลไปจนถึงปุ๋ยเคมีและอุตสาหกรรมประมงขนาดใหญ่ เป็นมูลค่ารวมกันกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี รัฐบาลยอมให้บรรษัทผู้ก่อมลพิษและอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบ ร้ายแรงเข้าแสวงกำไรจากการขูดรีดทรัพยากร และผลักภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน รัฐบาลเข้ากอบกู้สถาบันทางการเงินที่ละโมบซึ่งกำลัง ล้มละลาย แต่ล้มเหลวที่พลิกฟื้นโลกและดูแลคนยากจน

จำต้องกล่าวในที่นี้ว่า รัฐบาลทั้งหลายล้มเหลวนับตั้งแต่เอิร์ทซัมมิทเมื่อ 20 ปีก่อน แต่ก็ไม่ควรถูกประณามแต่โดยลำพัง ธุรกิจเอกชนมากมายได้ขัดขวางเส้นทางแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทเอเชียพัลแอนด์เพเพอร์(APP) ดำเนินการสวนทางกับความพยายามปกป้องป่าไม้ที่มีประสิทธิภาพในอินโดนีเซีย ในขณะที่โฟลค์สวาเกนขัดขวางต่อระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมการเงินทำให้ประชาชนผู้เสียภาษี ต้องจ่ายไปกับการตัดสินใจที่ผิดพลาด ขณะที่ขัดขวางรัฐบาลในการควบคุมตลาดการเงินให้มีประสิทธิภาพ

เมื่อเข้าประชุมเอิร์ทซัมมิทที่ริโอในปี 2555 นี้ รัฐบาลทั้งหลายจะเผชิญกับ ความอิหลักอิเหลื่อในเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” และคำมั่นสัญญาที่ถูกทำลาย นับตั้งแต่เอิร์ทซัมมิทที่ริโอเมื่อปี 2535 ประชาชนจะเฝ้าดูว่า "เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน" จะเป็นเพียงโฉมหน้าใหม่ของธุรกิจที่ดำเนินไปตามปกติ หรือจะเป็นการเรียกร้องเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่เราต้องการจริง ๆ

เราสร้างเศรษฐกิจสีเขียวที่เท่าเทียมและเป็นธรรมให้เกิดขึ้นได้ แต่เราต้องลงมือทำการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องจำเป็น ระบบเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของพลังงานนิวเคลียร์ น้ำมันและถ่านหิน วิศวะพันธุกรรม สารเคมีเป็นพิษหรือการขูดรีดทรัพยากรป่าไม้ ท้องทะเลและมหาสมุทร เกินขีดจำกัดนั้น ไม่อาจเรียกว่า “การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” ได้เลย

เศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นธรรมคือระบบเศรษฐกิจสรรสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยเคารพต่อขีดจำกัดของธรรมชาติ พรมแดนแห่งพื้นพิภพของเรา เศรษฐกิจสีเขียวเป็นระบบที่มีกระบวนการเพื่อตอบสนองเป้าหมายทางสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นช้ามาก แต่ข่าวดีก็คือ เราพิสูจน์ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว บราซิลได้แสดงให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่เราจะลดอัตราการทำลายป่าไม้ด้วยกลไกธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพและการดำเนินธุรกิจที่ดี การทำลายป่าไม้ในพื้นที่อะเมซอนของบราซิลมีอัตราลดลงปีแล้วปีเล่าและในปี 2554 เป็นปีที่มีอัตราการทำลายป่าต่ำที่สุด

แต่ปี 2555 นี้ ระบบติดตามประเมินผลของรัฐบาลบราซิลระบุว่า ในรัฐมาโตกรอสโซมีการทำลายป่าไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปี 2553 อันเป็นผลมาจากการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายป่าไม้(forest code) กฎหมายนี้ได้เปิดให้ยกเว้นการทำผิดกฎหมายในอดีต สร้างแรงจูงใจให้เกิดกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและเกิดการทำลายป่าไม้เพิ่มมากขึ้นก่อนจะมีการรับรองกฎหมายป่าไม้ดังกล่าวด้วย

บราซิลต้องตัดสินใจว่าจะเป็นผู้นำโลกในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและยุติการทำลายป่าไม้ให้เหลือศูนย์(Zero Deforestation) หรือจะแสดงให้โลกเห็นว่า สามารถยุติการทำลายป่าไม้ลงได้แต่ล้มเหลวที่จะทำเช่นนั้นเพราะมุ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจในระยะสั้น

มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้วในภาคพลังงานซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจสีเขียว ตัวอย่างเช่น ในเยอรมนี กำลังผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งทั้งหมดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาร้อยละ 81 มาจากพลังงานหมุนเวียน แผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซแสดงให้เห็นว่าเราสามารถส่งจ่ายไฟฟ้าให้ผู้คนได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ในขณะที่ทำการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงมากกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2593 และยังเกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น จากการลงทุนด้านประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานหมุนเวียน แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือนิวเคลียร์ โดยดำเนินการปฎิวัติพลังงาน รัฐบาลจะทำให้เกิดการจ้างงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา พลังงานมากกว่า 3.2 ล้านตำแหน่งภายในปี 2573

การยกร่างเอกสารที่ริโอในปี 2555 นี้ จะต้องไม่เขียน “ปฎิญญาริโอ” หรือที่รู้จักกันว่า “Agenda 21” ขึ้นมาใหม่ สิ่งที่เราต้องการเห็นมากกว่าคือทบทวนว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง ต่อคำมั่นสัญญา ที่ให้ไว้และใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล้มเหลวที่เกิดขึ้น และชี้ให้เห็นถึงอำนาจของบรรษัท ข้ามชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างล้นเหลือซึ่งโลกได้ประจักษ์ นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกที่ริโอเมื่อสองทศวรรษก่อน


ที่ริโอเดอจาเนโรในปี 2555 รัฐบาลต้องกอบกู้โลกให้พ้นจากเส้นทางที่อันตรายที่เราเผชิญอยู่ จะต้องสร้างเป้าหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นบนรากฐานการพัฒนาภายใต้ข้อจำกัดของระบบนิเวศของโลก เป้าหมายที่ตั้งควรมีช่วงเวลาไม่มากไปกว่าวงจรการเลือกตั้งทางการเมือง สองรอบเพื่อรับประกันว่าจะลงมือทำในทันที และหลีกเลี่ยงช่องว่างของพันธะกรณีทางการเมืองที่อาจจะมีขึ้น




สนธิสัญญากรุงโรม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สนธิสัญญากรุงโรมคือ

สนธิสัญญากรุงโรม  

ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ(ต้นกำเนิด มาร์ชทริส) ค.ส. 1957 ลงนามกรุงโรม

สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาปารีส


หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน (The Treaty of Paris)

ความตกลงปารีส (อังกฤษ: Paris Agreement) 
เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558[1] โลร็อง ฟาบีอุส ประธานที่ประชุมและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่าแผนการอัน "ทะเยอทะยานและสมดุล" นี้คือ "จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์" ในความพยายามลดภาวะโลกร้อน   


เป้าหมายของอนุสัญญามีระบุไว้ในข้อ 2 ว่า เพื่อ "ส่งเสริมการบังคับใช้" ยูเอ็นเอฟซีซี ด้วยการ[3]

"1.ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตระหนักว่า ความพยายามนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงอย่างมีนัยสำคัญ
2.เพิ่มพูนความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประคับประคองความคงทนต่อสภาพอากาศและการพัฒนาที่ก่อก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ด้วยแนวทางที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อการผลิตอาหาร
3.ก่อให้เกิดการไหลเวียนของกระแสเงินทุนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางไปสู่การพัฒนาที่ก่อก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและคงทนต่อสภาพอากาศ"


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สนธิสัญญาปารีสคือ

CITES ย่อมาจาก สัตว์พืชในCITES


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ citesสัตว์พืช



CITES ย่อมาจาก Convention on International Trade in Endangered Species หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์



ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์


 สัตว์และพืชในCITES

ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ แพนด้าแดง (Ailurus fulgens) กอริลลา (Gorilla gorilla) ชิมแปนซี (Pan spp.) เสือ (Panthera tigris subspecies) สิงโตอินเดีย (Panthera leo persica) เสือดาว (Panthera pardus) เสือจากัวร์ (Panthera onca) เสือชีตาห์ (Acinonyx jubatus) ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) พะยูนและแมนนาที (อันดับพะยูน) สกุลแรด (except some Southern African subspecies populations) ปลาตะพัด (Scleropages formosus) ปลายี่สก (Probarbus jullieni) เป็นต้น

ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ เอื้องปากนกแก้ว 


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รถไฟฟ้าญี่ปุ่น​

การโดยสารรถไฟถือเป็นการคมนาคมหลักในประเทศญี่ปุ่น ระบบการรถไฟที่ญี่ปุ่นทันสมัยมาก ให้บริการครอบคลุมเกือบทุกจุดหมายปลายทางทั่วประเทศ ดังนั้นการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆภายในประเทศญี่ปุ่นจึงไม่ใช่เรื่องยาก
อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจกับระบบรถไฟที่ญี่ปุ่นก่อน รถไฟในญี่ปุ่นแบ่งเป็น 3 ระบบหลักๆ ได้แก่
  1. รถไฟ JR เน้นการเดินทางข้ามภูมิภาค ข้ามจังหวัด และการเดินทางในตัวเมือง
  2. รถไฟใต้ดิน เน้นการเดินทางในเมืองนั้นๆ
  3. รถไฟเอกชนต่างๆ วิ่งเฉพาะบริเวณนั้นๆ
ในครั้งนี้ขออธิบายเกี่ยวกับรถไฟ JR ในข้อ 1. เท่านั้น

รถไฟ JR เน้นการเดินทางระหว่างเมือง

รถไฟ JR ครอบคลุมบริเวณทั่วประเทศญี่ปุ่น

โครงงานISเรื่องกล้วยๆสไตล์เด็กหอ

วีดีโอ​จาก: https://youtu.be/IecMajnh9so โครงงานIS เรื่อง กล้วยสไตล์เด็กหอ    สมาชิกกลุ่ม น.ส. ดวงกมล น้อยยืนยง ม.4/8 เลขที...